เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (understanding Goal):

Week13

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบไขมัน และการวิเคราะห์อาหารประเภทไขมัน ที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ รวมทั้งเข้าใจระบบการทำงานของหัวใจ

Week
Input
Possess
Output
Outcome







13

17-21 ส.ค. 58 
โจทย์: การตรวจสอบไขมัน และการลดน้ำหนักในระยะเวลา 1 เดือน

Key  Questions:
- จากการทดลองหยดน้ำมันลงในแผ่นกระดาษ นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนอย่างไร?
- นักเรียนจะมีวิธีการควบคุมอาหารประเภทไขมัน และแบ่งเวลาออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักของตัวเอง ในระยะเวลา 1 เดือน ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด:
Show and Share:นำเสนอการออกแบบการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกายภายในระยะเวลา 1 เดือน
Fort chart: ออกแบบการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกายภายในระยะเวลา 1 เดือน
Wall thinking: วิธีการที่ตนเองจะดำเนินการลดน้ำหนักในระยะเวลา 1 เดือน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต
- ภาพ กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน
- แผ่นกระดาษทดลอง การตรวจสอบไขมัน
- น้ำมัน/ไขมัน
วันจันทร์
ชง: ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่ามีวิธีการใดบ้างในการทดสอบหาไขมัน/น้ำมัน?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายถึงมีวิธีทดลองเกี่ยวกับเรื่องไขมัน(น้ำมัน)
- สืบค้นข้อมูลมานำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
วันอังคาร
ชง: นักเรียนทบทวนวิธีการทดสอบไขมัน/น้ำมัน
เชื่อม:
- ครูนำกระดาษสีขาวบาง และนำมันพืช มาพานักเรียนทดลอง(อย่างง่าย) เกี่ยวกับความโปร่งแสง
- ทดลองหยดน้ำมันพืช 2-3 หยด ลงบนกระดาษ แล้วเกลี่ยหยดน้ำมันให้กระจาย
 - ยกกระดาษขึ้นมาให้แสงผ่าน จากการทดลองหยดน้ำมันลงในแผ่นกระดาษ นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนอย่างไร
- ร่วมสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผลการทดลองดังกล่าว
ชง: ครูกระตุ้นด้วยคำถาม จากการทดลอง นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนอย่างไร?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน และถกข้อสงสัยเกี่ยวกับที่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของแผนกระดาษ
วันพุธ
ชง: ครูนำภาพ กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน
มาให้นักเรียนช่วยกันดู 
 และวิเคราะห์เกี่ยวกับการรับประทาน
เชื่อม:
- นักเรียนชั่งน้ำหนักของตนเอง เพื่อออกแบบการควบคุมปริมาณอาหาร

และออกกำลังกายภายในระยะเวลา 1 เดือนผ่านเครื่องมือคิดFlow chart
- อภิปรายวิธีการที่ตนเองจะดำเนินการลดน้ำหนักในระยะเวลา 1 เดือน

วันศุกร์
ชง:นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน
เชื่อม:นักเรียนนำเสนอแผนการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกาย
ชง:ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
- ”นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม :สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลมานำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ เกี่ยวกับการหยดน้ำมัน ลงแผ่นกระดาษสีขาว
- ทดลองการตรวจสอบไขมัน ร่วมสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผลการทดลอง
- ออกแบบการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกายภายในระยะเวลา 1 เดือนผ่านเครื่องมือคิดFlow chart

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกผลการทดลองการทดสอบไขมัน/น้ำมัน
- Flow chartการควบคุมปริมาณอาหารไขมันและการออกกำลังกายใน 1 เดือน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบไขมัน และการวิเคราะห์อาหารประเภทไขมัน ที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ รวมทั้งเข้าใจระบบการทำงานของหัวใจ

ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสมเช่น สี กระดาษ กรรไกร
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับการทดลองตรวจสอบความโปร่งแสงจากการทดสอบไขมันได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและความรับผิดชอบ
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
_ PBL-คู่ขนาน /by-คุณครูป้อม
ในวันแรกของสัปดาห์ที่ 13 นี้ ผู้ปกครอง ม.1 หลังจากประชุมเสร็จในวันศุกร์ที่แล้ว คุณครูขอรับบริจาคต้นไม้ / พืชสวนครัว /เมล็ดพันธ์ต่างๆ นานา





เพื่อให้นักเรียนได้นำมาปลูกรอบๆ บริเวณมัธยม ทุกคนนำสิ่งที่ผู้ปกครองนำมาให้คุณครูและนำมาปลูกร่วมกัน
อาทิเช่น เมล็ดข้าวโพด, แตงโม, เมล่อน ฯลฯ
ผู้ปกครองอยากเรียนรู้เรื่องงานเกษตรไปกับลูกๆ ทำให้การเรียนรู้ของหลายๆ อย่างเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้แต่เริ่มแรกๆ 






ครูและนักเรียนนำเมล็ดข้าวโพดไปปลูกรอบๆ แปลงนา และนำไปปลูกหลังท่อข้าว 4 เมล็ด ล้อมรอบบริเวณปลูกต้นกล้วย 1 ตร.ม.
_ส่วนเมล็ดแตงโมกับเมล่อนครูกับนักเรียนเพาะลงในถุงดำกับตะแกรงเพาะเมล็ด ไปวางไว้ข้างทิวสน




นักเรียนยังช่วยดูแลหญ้าบริเวณรอบๆแปลงนา รอบๆ บ้าน ม.1 และนำไปให้ลูกวัวที่เพิ่งออกมา 1 วัน กินทุกๆ ตอนเช้า-เย็น

_ PBL-ครัวธรรมชาติ (วิทย์) /by-คุณครูดอกไม้
_ PBL-ครัวธรรมชาติ /by-คุณครูดอกไม้
สัปดาห์นี้ในวันจันทร์พี่ๆ ม.1เริ่มลงเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องไขมัน ครูจึงให้พี่ๆ ม.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบหาไขมันในสิ่งต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเวลา 20 นาที ในการสืบค้นข้อมูล
จากนั้นพี่ๆ ได้นำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนสะท้อนกันและได้นัดหมายกันภายในกลุ่ม เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลอง วันอังคารพี่ๆ ม.1 ได้ทำการทดลองการซึมผ่านของน้ำมันแต่มีสองกลุ่มที่ไม่ได้เตรียมน้ำมันมา(น้ำมันหมู, น้ำมันไก่)
พี่ปังปอนด์: “แล้วจะต้องทำอย่างไรครับครู?”
พี่ค็อป: “ทดลองแค่สองน้ำมันก่อนได้ไหมครับ แล้วค่อยเอาน้ำมันอื่นๆ มาทีหลัง”
                จากนั้นพี่ ม.1 ทำการทดลองการซึมผ่านของน้ำมัน(น้ำมันมะพร้า,น้ำมันมะกอก) โดยกระดาษที่ใช้คือ กระดาษทิชชู, กระดาษร้อยปอนด์, กระดาษซับมันและกระดาษA4
จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงแลกเปลี่ยนกัน
พี่เพชร: “กลุ่มผมน้ำมันมะพร้าวเมื่อยดลงกระดาษทิชชูซึมเร็วมากครับไม่ถึงวินาทีด้วยซ้ำครับ แต่น้ำมันมะกอกซึมผ่านยากกว่าครัว กระดาษซับมันตอนหยดน้ำมันลงไปครั้งแรกๆหยดน้ำมันไม่ขยับเลยครับ”
พี่ซินดี้: “ของกลุ่มหนุน้ำมันมะกอซึมผ่านเร็วกว่าค่ะแตกต่างกันอยู่ประมาณสองวินาทีค่ะ”
จากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอจะใช้เวลาประมาน 2-3 วินาที ในการซึมผ่านของไขมัน ครูดอกไม้จึงทดลองหยดน้ำมันลงในกระดาษร้อยปอนด์แล้วให้พี่ซินดี้จับเวลาปรากฏเวลาผ่านไปกว่า3นาที น้ำมันยังไม่ซึมผ่านกระดาษ
ครูจึงกระตุ้นด้วยคำถามว่า “เหมือหรือต่างกับการทดลองที่พี่ๆทำรอบแรกอย่างไร?”
พี่เพลง : “อาจเป็นเพราะเทน้ำมันลงแล้วกลิ้งให้มันทั่วกระดาษครับ ก็เลยกระจายไปทั่วครับไม่ได้ดูที่มันซึมจริงๆครับและพี่ๆจึงทำการสรุปผลการทดลองของกลุ่มตนเอง”




ในวันพุธครูดอกไม้ให้พี่ๆดูตัวอย่าง Infogarffic "กินอย่างไรไม่ให้อ้วน" แล้วถามพี่ๆ ม.1 ว่าใครที่ทำตามเกินห้าข้อบ้าง
พี่เพชรยกมืออย่างมั่นใจ 8 ข้อครับครู พี่โจเซฟผมก็ 8 ข้อครับ



จากนั้นพี่ๆได้ออกแบบinfogarffic ของตนเอง "กินอย่างไรไม่ให้อ้วน" แล้วพี่ๆ แต่ละคนนำเสนอinfogarffic ให้ครูและเพื่อนๆฟังพร้อมให้ข้อเสนอแน่ะ แล้วครูดอกไม้จึงเปิดคลิป "ไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว" หลังจากดูคลิปพี่ๆได้สรุปความเข้าใจที่ได้
พี่ออสติน: “แล้วถ้าเป็นนำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันรำข้าว จะดีหรือไม่ดีครับ”
ครูดอกไม้: “ต้องกลับไปดูโครงสร้างก่อนนะครับว่ามีกี่จุดที่เป็นโครงสร้างแบบทราน”
พี่บอล: “ครูครับผมว่าน้ำมันมะพร้าวมันแพงมากเลยครับใช้นำมันพืชแทนแต่ใช้น้อยลงก็ได้นะครับ”

จากนั้นพี่ๆ จึงสรุปความเข้าใจว่าจะนำความเข้าใจที่ได้จากคลิปไปปรับใช้อย่าไร

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

2 ความคิดเห็น:

  1. _ PBL-คู่ขนาน /by-คุณครูป้อม
    ในวันแรกของสัปดาห์ที่ 13 นี้ ผู้ปกครอง ม.1 หลังจากประชุมเสร็จในวันศุกร์ที่แล้ว คุณครูขอรับบริจาคต้นไม้ / พืชสวนครัว /เมล็ดพันธ์ต่างๆ นานา
    เพื่อให้นักเรียนได้นำมาปลูกรอบๆ บริเวณมัธยม ทุกคนนำสิ่งที่ผู้ปกครองนำมาให้คุณครูและนำมาปลูกร่วมกัน
    อาทิเช่น เมล็ดข้าวโพด, แตงโม, เมล่อน ฯลฯ
    ผู้ปกครองอยากเรียนรู้เรื่องงานเกษตรไปกับลูกๆ ทำให้การเรียนรู้ของหลายๆ อย่างเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้แต่เริ่มแรกๆ
    ครูและนักเรียนนำเมล็ดข้าวโพดไปปลูกรอบๆ แปลงนา และนำไปปลูกหลังท่อข้าว 4 เมล็ด ล้อมรอบบริเวณปลูกต้นกล้วย 1 ตร.ม.
    _ส่วนเมล็ดแตงโมกับเมล่อนครูกับนักเรียนเพาะลงในถุงดำกับตะแกรงเพาะเมล็ด ไปวางไว้ข้างทิวสน

    นักเรียนยังช่วยดูแลหญ้าบริเวณรอบๆแปลงนา รอบๆ บ้าน ม.1 และนำไปให้ลูกวัวที่เพิ่งออกมา 1 วัน กินทุกๆ ตอนเช้า-เย็น

    ตอบลบ
  2. _ PBL-ครัวธรรมชาติ /by-คุณครูดอกไม้
    สัปดาห์นี้ในวันจันทร์พี่ๆ ม.1เริ่มลงเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องไขมัน ครูจึงให้พี่ๆ ม.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบหาไขมันในสิ่งต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเวลา 20 นาที ในการสืบค้นข้อมูล
    จากนั้นพี่ๆ ได้นำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนสะท้อนกันและได้นัดหมายกันภายในกลุ่ม เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลอง วันอังคารพี่ๆ ม.1 ได้ทำการทดลองการซึมผ่านของน้ำมันแต่มีสองกลุ่มที่ไม่ได้เตรียมน้ำมันมา(น้ำมันหมู, น้ำมันไก่)
    พี่ปังปอนด์: “แล้วจะต้องทำอย่างไรครับครู?”
    พี่ค็อป: “ทดลองแค่สองน้ำมันก่อนได้ไหมครับ แล้วค่อยเอาน้ำมันอื่นๆ มาทีหลัง”
    จากนั้นพี่ ม.1 ทำการทดลองการซึมผ่านของน้ำมัน(น้ำมันมะพร้า,น้ำมันมะกอก) โดยกระดาษที่ใช้คือ กระดาษทิชชู, กระดาษร้อยปอนด์, กระดาษซับมันและกระดาษA4
    จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงแลกเปลี่ยนกัน
    พี่เพชร: “กลุ่มผมน้ำมันมะพร้าวเมื่อยดลงกระดาษทิชชูซึมเร็วมากครับไม่ถึงวินาทีด้วยซ้ำครับ แต่น้ำมันมะกอกซึมผ่านยากกว่าครัว กระดาษซับมันตอนหยดน้ำมันลงไปครั้งแรกๆหยดน้ำมันไม่ขยับเลยครับ”
    พี่ซินดี้: “ของกลุ่มหนุน้ำมันมะกอซึมผ่านเร็วกว่าค่ะแตกต่างกันอยู่ประมาณสองวินาทีค่ะ”
    จากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอจะใช้เวลาประมาน 2-3 วินาที ในการซึมผ่านของไขมัน ครูดอกไม้จึงทดลองหยดน้ำมันลงในกระดาษร้อยปอนด์แล้วให้พี่ซินดี้จับเวลาปรากฏเวลาผ่านไปกว่า3นาที น้ำมันยังไม่ซึมผ่านกระดาษ
    ครูจึงกระตุ้นด้วยคำถามว่า “เหมือหรือต่างกับการทดลองที่พี่ๆทำรอบแรกอย่างไร?”
    พี่เพลง : “อาจเป็นเพราะเทน้ำมันลงแล้วกลิ้งให้มันทั่วกระดาษครับ ก็เลยกระจายไปทั่วครับไม่ได้ดูที่มันซึมจริงๆครับและพี่ๆจึงทำการสรุปผลการทดลองของกลุ่มตนเอง”
    ในวันพุธครูดอกไม้ให้พี่ๆดูตัวอย่าง Infogarffic "กินอย่างไรไม่ให้อ้วน" แล้วถามพี่ๆ ม.1 ว่าใครที่ทำตามเกินห้าข้อบ้าง
    พี่เพชรยกมืออย่างมั่นใจ 8 ข้อครับครู พี่โจเซฟผมก็ 8 ข้อครับ
    จากนั้นพี่ๆได้ออกแบบinfogarffic ของตนเอง "กินอย่างไรไม่ให้อ้วน" แล้วพี่ๆ แต่ละคนนำเสนอinfogarffic ให้ครูและเพื่อนๆฟังพร้อมให้ข้อเสนอแน่ะ แล้วครูดอกไม้จึงเปิดคลิป "ไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว" หลังจากดูคลิปพี่ๆได้สรุปความเข้าใจที่ได้
    พี่ออสติน: “แล้วถ้าเป็นนำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันรำข้าว จะดีหรือไม่ดีครับ”
    ครูดอกไม้: “ต้องกลับไปดูโครงสร้างก่อนนะครับว่ามีกี่จุดที่เป็นโครงสร้างแบบทราน”
    พี่บอล: “ครูครับผมว่าน้ำมันมะพร้าวมันแพงมากเลยครับใช้นำมันพืชแทนแต่ใช้น้อยลงก็ได้นะครับ”

    จากนั้นพี่ๆ จึงสรุปความเข้าใจว่าจะนำความเข้าใจที่ได้จากคลิปไปปรับใช้อย่าไร

    ตอบลบ