เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (understanding Goal):

Week14

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย(หัวใจ) และโรคอ้วนมีผลต่อโรคที่ตามมา ประยุกต์ใช้ความรู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Possess
Output
Outcome




14

23-28 ส.ค. 58
โจทย์: โรคอ้วนกับระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย
Key  Questions
นักเรียนคิดว่าโรคอ้วน มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายเราอย่างไร?
นักเรียนจะเชื่ออย่างไรว่าไขมันชนิดใดเป็นไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว?
เครื่องมือคิด
Bran storm: ระดมความคิดตั้งสมมุติฐานก่อนการทดลอง
Round Robin:อภิปรายร่วมกันถึงการดำเนินการทดลองและปัญหาที่เกิดขึ้น

Wall thinking: การ์ตูนช่องผลการทดลอง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- คลิปVDO
- ไอแพด
- ภาพไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- อุปกรณ์การทดลอง
วันจันทร์
ชง: ครูให้นักเรียนดูคลิป ซับความมันปนเปื้อนสารพิษ (ทิชชูซับน้ำมัน)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามนักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร? / นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากคลิปที่ได้ดู?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
 ครูให้นักเรียนดูคลิป ไขมันกับสุขภาพ 1

ชง: ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะเชื่ออย่างไรว่าไขมันชนิดใดเป็นไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน

วันอังคาร
ชง: ครูให้นักเรียนภาพ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
                นักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร?
                นักเรียนคิดว่านักเรียนมีโอกาสเป็นโรคไขมันอุดตันได้หรือไม่เพราะเหตุใด?
เชื่อม: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง:
- ครูให้นักเรียนศึกษาแผนหารทดลองเรื่อง
ตรวจสอบกรดไขมันไม่อิ่มตัว
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าปริมานทิงเจอร์ไอโอดีนหมายถึงอะไรและส่งผลอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนอภิปรายและตั้งสมมุติฐานร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง

วันพุธ
ชง: ครูและนักเรียนทบทวนขั้นตอนการทดลองพร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์
เชื่อม:
- นักเรียนทำการทดลอง การตรวจสอบกรดไขมันไม่อิ่มตัว พร้อมทั้งทำการถ่ายทำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันถึงการดำเนินการทดลองและปัญหาที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสรุปความเข้าใจผ่านใบงาน
ใช้: นักเรียนสรุปผลการทดลองในรูปแบบของการ์ตูนช่อง

วันศุกร์
ชง:ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าโรคอ้วน มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายเราอย่างไร?”
เชื่อม:นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น(โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคข้อเสื่อม, โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ)
ชง:ครูให้แบบบันทึกอาการต่างๆของผู้ป่วยกับนักเรียน แล้วให้นักเรียนวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร
เชื่อม: นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง:ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
- นักเรียนคิดว่าระบบการทำงานของหัวใจเราเป็นอย่างไรบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าหัวใจคนกับหัวใจหมู เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม: แบ่งกลุ่มศึกษาระบบการทำงานของหัวใจและบันทึกผลลงในสมุด
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
                นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
                นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม :สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-การอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO และภาพที่ได้ดู
- การตั้งสมมุติฐานก่อนการทดลอง
- การทำการทดลอง “ทดสอบไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว”
- การวิเคราะห์อาการของโรคต่างๆ
- การศึกษาระบบการทำงานของหัวใจ

ชิ้นงาน
- ใบงานสรุปความเข้าใจเรื่องไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว
- การ์ตูนช่องสรุปผลการทดลองไขมันอิ่มตัว/ไม่อิ่มตัว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย(หัวใจ) และโรคอ้วนมีผลต่อโรคที่ตามมา ประยุกต์ใช้ความรู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสมเช่น สี กระดาษ กรรไกร
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการสื่อสาร
สามารถสื่อสารกับสมาชิกภายในกลุ่มในการใช้อุปกรณ์การทดลองอย่างระมัดระวัง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
-สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
- สามารถถ่าย VDO ผ่านโปรแกรม I-Movie และนำเสนอได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอวิธีการลดปริมาณอาหารประเภทไขมันและการออกกำลังกาย 1 เดือน เพื่อลดน้ำหนัก
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

pbl คู่ขนาน -- by ครูป้อม
_ เริ่มต้นสัปดาห์นี้มาเด็กๆ มากันแต่เช้าของวนจันทร์ทุกคนต่างตื่นเต้นที่เห็นพืช/ผัก ต่างๆ ที่พากันเพาะปลูกไว้รอบบ้าน เช่น แตงโม ข้าวโพด เมล่อน ฯลฯ และยังมีสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้น คือก่อนหน้านี้ครูสร้างแรงให้เด็กๆ ปลูกแตงโม โดยนำคลิปแตงโมง 4 เหลี่ยมของประเทศญี่ปุ่นให้ทุกคนรับชม และเล่าสิ่งที่เข้าทำแตกต่างจากเมืองไทย เช่น มีstory และจัดรูปลักษณ์ให้น่าสนใจ สร้างมูลค่าเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่ให้น่าสนใจ ฯลฯ



พี่เพชร : “คุณครูผมทำสำเร็จแล้ว กล่องปลูกแตงโม 4 เหลี่ยม” โดยผู้ปกครองพี่เพชรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือ ชิ้นงานดังกล่าว โจทย์ที่ครูให้ก่อนหน้านั้นให้สร้างให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (พี่เพชรแจ้งว่า 780 บาท) การเรียนรู้เพียงงานชิ้นนี้สร้างทักษะชีวิตให้พี่เพชร และเพื่อนๆ ที่ต่างรอดูผลที่พลอยได้จากการทดลองนี้
ครูและเด็กๆ นักเรียนทุกคน ม.1 ต่างรอคอยผลที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กับความสำเร็จดังกล่าว
                และอีกอย่างคือข้าวของพี่ๆ ม.1 ตอนนี้แห้งกรอบมากๆ เพราะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาฝนไม่ตกเลย และแดดแรงมากๆ
ข้าวของหลายๆ คนเริ่มออกรวงแล้ว แต่ข้าวขาดน้ำ ดินแห้งมากๆ ครูจึงชวนเด็กๆ พูดคุยถึงปัญหาดังกล่าวว่าเราจะแก้ปัญหานั่นอย่างไร?
หลายคนช่วยกันตักน้ำมาใส่ท่อข้าว และแปลงปลูกกล้วย 1 ตร.ม.
เพื่อให้พืช/ผัก เกื้อหนุนกัน ให้งอกงามตามแปลงปลูกผักดังกล่าว และยังช่วยเหลือกันทำรั่วล้อมรอบๆ แปลงดังกล่าว
และยังใส่ปุ๋ย พรวนดิน ในการ



(ต่อ)หลังจากนั้นเด็กๆ ม.1 ได้ร่วมกันทำรั้วรอบๆ แปลงปลูกกล้วยของเด็กๆ
กิจกรรมดังกล่าวทุกคนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้เติมน้ำและใส่ปุ๋ย ทั้งท่อข้าวและบริเวณปลูกกล้วย ในส่วนของข้าวโพดที่หยอดเมล็ดไว้บริเวณโดยรอบบ้าน ม.1 ตอนนี้ข้าวโพดงอกขึ้นหมดแล้วเด็กๆทุกคนต่างตื่นเต้นและช่วยกันถอนหญ้าและใส่ปุ๋ยรดน้ำ

 







จากนั้นเด็กๆทุกคนมาร่วมกันพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ (ปัญหา/อุปสรรค-แนวทางการแก้ไข) พร้อมกับเด็กนักเรียนทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้ลงในสมุดบันทึกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับกิจกรรมในสัปดาห์นี้

PBL-ครัวธรรมชาติ byครูดอกไม้
_สัปดาห์นี้พี่ๆ ม.1 ได้ทำการทดลองเรื่อง “กรดไขมันไม่อิ่มตัว” ขณะทำการทดลองเกิดปัญหาให้พี่ๆ ม.1 ได้เรียนรู้หลายเหตุการณ์ เช่น ขณะที่ต้มน้ำด้วยการใช้บิกเกอร์วางบนฮ็อทเพลตปรากฎว่า เมื่อเวลาผ่านไปประมาณเกือบหนึ่งชั่วโมงบิกเกอร์แตก(แตกที่บริเวณฐานด้านล้าง ไม่ได้แตกกระจายค่ะ)
และขณะที่กลุ่มพี่เพลง ทำการหยดไอโอดีนลงในน้ำมันที่ผ่านการต้มแล้วปรากฏว่าเกิดการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของไอโอดีน(คล้ายกับการระเบิดแต่ไม่ได้รับอันตรายค่ะ) ทำให้พี่ๆ ม.1 เกิดคำถามที่อยากเรียนรู้อย่างมากมาย
พี่เพรช: ครูครับทำไมแก้วถึงแตกครับ
พี่โจเซฟ:  ครูครับแล้วทำไมแก้วไม่แตกกระจายหละครับ
พี่ปุน: ทำไมไฟไม่ช็อตครับน้ำหกใส่เยอะมาเลยครับ
พี่อังๆ: ทำไมกลุ่มเพลงเมื่อหยดไอโอดีนลงถึงระเบิดคะแต่กลุ่มหนูไม่เป็นอะไรเลย
พี่ซินดี้: ครูคะหยดไอโอดีนลงไปแล้วไม่ละลายคะทำอย่างไรคะ
ครูดอกไม้ยังไม่ได้ตอบคำถามใดๆ กับพี่ๆ ม.1 แต่ให้พี่ๆ กลับไปหาคำตอบด้วยตัวเองทั้งจากคำถามของตนเองและเพื่อนๆ
แล้วจึงจะมาอภิปรายร่วมกันในสัปดาห์ถัดไปค่ะ และยังได้ทำสรุปผลการทดลองลงในหลังกระดาษใบงานที่ครูแจกให้ก่อนเรียนรู้ทำการทดลอง


สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


2 ความคิดเห็น:

  1. PBL-ครัวธรรมชาติ byครูดอกไม้
    _สัปดาห์นี้พี่ๆ ม.1 ได้ทำการทดลองเรื่อง “กรดไขมันไม่อิ่มตัว” ขณะทำการทดลองเกิดปัญหาให้พี่ๆ ม.1 ได้เรียนรู้หลายเหตุการณ์ เช่น ขณะที่ต้มน้ำด้วยการใช้บิกเกอร์วางบนฮ็อทเพลตปรากฎว่า เมื่อเวลาผ่านไปประมาณเกือบหนึ่งชั่วโมงบิกเกอร์แตก(แตกที่บริเวณฐานด้านล้าง ไม่ได้แตกกระจายค่ะ)
    และขณะที่กลุ่มพี่เพลง ทำการหยดไอโอดีนลงในน้ำมันที่ผ่านการต้มแล้วปรากฏว่าเกิดการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของไอโอดีน(คล้ายกับการระเบิดแต่ไม่ได้รับอันตรายค่ะ) ทำให้พี่ๆ ม.1 เกิดคำถามที่อยากเรียนรู้อย่างมากมาย
    พี่เพรช: ครูครับทำไมแก้วถึงแตกครับ
    พี่โจเซฟ: ครูครับแล้วทำไมแก้วไม่แตกกระจายหละครับ
    พี่ปุน: ทำไมไฟไม่ช็อตครับน้ำหกใส่เยอะมาเลยครับ
    พี่อังๆ: ทำไมกลุ่มเพลงเมื่อหยดไอโอดีนลงถึงระเบิดคะแต่กลุ่มหนูไม่เป็นอะไรเลย
    พี่ซินดี้: ครูคะหยดไอโอดีนลงไปแล้วไม่ละลายคะทำอย่างไรคะ
    ครูดอกไม้ยังไม่ได้ตอบคำถามใดๆ กับพี่ๆ ม.1 แต่ให้พี่ๆ กลับไปหาคำตอบด้วยตัวเองทั้งจากคำถามของตนเองและเพื่อนๆ

    แล้วจึงจะมาอภิปรายร่วมกันในสัปดาห์ถัดไปค่ะ และยังได้ทำสรุปผลการทดลองลงในหลังกระดาษใบงานที่ครูแจกให้ก่อนเรียนรู้ทำการทดลอง..

    ตอบลบ
  2. pbl คู่ขนาน -- by ครูป้อม
    _ เริ่มต้นสัปดาห์นี้มาเด็กๆ มากันแต่เช้าของวนจันทร์ทุกคนต่างตื่นเต้นที่เห็นพืช/ผัก ต่างๆ ที่พากันเพาะปลูกไว้รอบบ้าน เช่น แตงโม ข้าวโพด เมล่อน ฯลฯ และยังมีสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้น คือก่อนหน้านี้ครูสร้างแรงให้เด็กๆ ปลูกแตงโม โดยนำคลิปแตงโมง 4 เหลี่ยมของประเทศญี่ปุ่นให้ทุกคนรับชม และเล่าสิ่งที่เข้าทำแตกต่างจากเมืองไทย เช่น มีstory และจัดรูปลักษณ์ให้น่าสนใจ สร้างมูลค่าเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่ให้น่าสนใจ ฯลฯ
    พี่เพชร : “คุณครูผมทำสำเร็จแล้ว กล่องปลูกแตงโม 4 เหลี่ยม” โดยผู้ปกครองพี่เพชรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือ ชิ้นงานดังกล่าว โจทย์ที่ครูให้ก่อนหน้านั้นให้สร้างให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (พี่เพชรแจ้งว่า 780 บาท) การเรียนรู้เพียงงานชิ้นนี้สร้างทักษะชีวิตให้พี่เพชร และเพื่อนๆ ที่ต่างรอดูผลที่พลอยได้จากการทดลองนี้
    ครูและเด็กๆ นักเรียนทุกคน ม.1 ต่างรอคอยผลที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กับความสำเร็จดังกล่าว
    และอีกอย่างคือข้าวของพี่ๆ ม.1 ตอนนี้แห้งกรอบมากๆ เพราะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาฝนไม่ตกเลย และแดดแรงมากๆ
    ข้าวของหลายๆ คนเริ่มออกรวงแล้ว แต่ข้าวขาดน้ำ ดินแห้งมากๆ ครูจึงชวนเด็กๆ พูดคุยถึงปัญหาดังกล่าวว่าเราจะแก้ปัญหานั่นอย่างไร?
    หลายคนช่วยกันตักน้ำมาใส่ท่อข้าว และแปลงปลูกกล้วย 1 ตร.ม.
    เพื่อให้พืช/ผัก เกื้อหนุนกัน ให้งอกงามตามแปลงปลูกผักดังกล่าว และยังช่วยเหลือกันทำรั่วล้อมรอบๆ แปลงดังกล่าว
    และยังใส่ปุ๋ย พรวนดิน ในการทำงานช่วยกัน
    _หลังจากนั้นเด็กๆ ม.1 ได้ร่วมกันทำรั้วรอบๆ แปลงปลูกกล้วยของเด็กๆ
    กิจกรรมดังกล่าวทุกคนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้เติมน้ำและใส่ปุ๋ย ทั้งท่อข้าวและบริเวณปลูกกล้วย ในส่วนของข้าวโพดที่หยอดเมล็ดไว้บริเวณโดยรอบบ้าน ม.1 ตอนนี้ข้าวโพดงอกขึ้นหมดแล้วเด็กๆทุกคนต่างตื่นเต้นและช่วยกันถอนหญ้าและใส่ปุ๋ยรดน้ำ

    จากนั้นเด็กๆทุกคนมาร่วมกันพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ (ปัญหา/อุปสรรค-แนวทางการแก้ไข) พร้อมกับเด็กนักเรียนทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้ลงในสมุดบันทึกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับกิจกรรมในสัปดาห์นี้

    ตอบลบ