เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจองค์ประกอบของสารอาหารที่อยู่ในผลไม้และความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
17
14-18 ก.ย. 58
|
โจทย์: ประกอบอาหารจากผักและผลไม้ /
รายการอาหาร
Key Questions
-
นักเรียนจะประกอบอาหารจากผักและผลไม้อย่างไรให้เกิดคุณค่าทางอาหารมากที่สุด?
-
อะไรบ้างที่เป็นสิ่งสำคัญมากแต่ต้องการน้อยมาก?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : ระดมความคิดออกแบบเมนูและวางแผนการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
Show and Share: นำเสนอชาร์ตการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
Round Robin: ถอดบทเรียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
ภาพผลไม้ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอาหารชนิดต่างๆ
- อุปกรณ์การประกอบอาหาร
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต/ไอแพด
|
วันจันทร์
ชง:
-
ครูชวนนักเรียนทบทวนเรื่องสารอาหารประเภทต่างๆที่เรียนผ่านมาแล้ว
เชื่อม:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าผักและผลไม้สามารถนำไปประกอบอาหารอะไรได้บ้าง?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง:
-ครูให้นักเรียนดูภาพผลไม้ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอาหารชนิดต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร?” / “นักเรียนจะออกแบบเมนูอาหารที่มาจากผักและผลไม้ด้วยตนเองอย่างไร?”
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อคิดออกแบบเมนูและวางแผนการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบชาร์ตการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
วันอังคาร
ชง:นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของการทำงาน
เชื่อม:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาจากกระบวนการประกอบอาหารของกลุ่มตนเองพร้อมทั้งนำเสนอให้ครูและเพื่อนฟังตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
ชง: ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำเสนอให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบอาหารและคุณค่าทางอาหารที่นักเรียนทำขึ้นได้อย่างไร?”
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถามในชง:
-
นักเรียนวางแผนการถ่ายทำและแบ่งหน้าที่ในการจัดเตรียมอุปกรณ์
วันพุธ
ชง :ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงความพร้อมของอุปกรณ์
และวัตถุดิบของแต่ละกลุ่ม
ใช้: นักเรียนลงมือประกอบอาหารพร้อมทั้งดำเนินการถ่ายทำ
ชง:
ครูและนักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในวันพุธที่ผ่านมา
วันศุกร์
เชื่อม:
-
นักเรียนทำชิ้นงานจากการถอดบทเรียน
- นักเรียนตัดต่อVDO
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “อะไรบ้างที่เป็นสิ่งสำคัญมากแต่ต้องการน้อยมาก?” / “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?”
/ “นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-การทบทวนเรื่องสารอาหารประเภทต่างๆที่เรียนผ่านมาแล้ว
-
การออกแบบเมนูและวางแผนการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
-การศึกษากระบวนการประกอบอาหารของกลุ่มตนเองพร้อมทั้งนำเสนอให้ครูและเพื่อนฟังตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
- การลงมือประกอบอาหาร
- การถ่ายทำและตัดต่อVDO
-
ถอดบทเรียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
ชิ้นงาน
-
ชาร์ตการประกอบอาหารจากผักและผลไม้
- อาหารที่ประกอบขึ้นจากผักและผลไม้
- VDO การประกอบอาหารจกผักและผลไม้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจองค์ประกอบของสารอาหารที่อยู่ในผลไม้และความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสมเช่น สี
กระดาษ กรรไกร
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
-
ใช้อุปกรณ์ในการประกอบอาหารและล้างจัดเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ
ICT
-สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น
Internet
ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
-
สามารถใช้ไอแพดในการถ่ายทำและตัดต่อVDO ได้
คุณลักษณะ
- ใช้อุปกรณ์การทดลองได้ถูกต้องตามการใช้งาน
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
PBLคู่ขนาน : by ครูป้อม
_เริ่มต้นในสัปดาห์นี้ เด็กๆยังเห็นนกมากินข้าวทุกๆ เช้า-เที่ยง-เย็น
แถมยังมีลูกวัวอัก 2 ตัวที่เข้ามากัดกินข้าวตลอดทั้งวัน
เด็กๆและครูจึงร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเปลี่ยนจากรอเก็บเกี่ยวข้าว มาเป็นมาทำข้าวเม่าร่วมกันรับประทาน
โดยมีผู้ปกครองที่ทำเป็นมาเป็นผู้ปกครองอาสาเข้ามาร่วมทำกิจกรรมให้กับเด็กๆ
ในสัปดาห์นี้
|
|
|
|
..เช้าวันอังคารทุกคนร่วมกันเกี่ยวข้าวในแปลงนาหน้าบ้าน ม.1 โดยมีผู้ปกครอง
แม่พี่อังๆ แม่พี่ปุณ แม่พี่ติ แม่พี่มิลล์ แม่พี่ติ และแม่พี่ซินดี้ อาสามาช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าวร่วมกับครูและเด็กๆ
โดยเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ลงเกี่ยวข้าวในแปลงนาด้วยก็ต่างถือกระด้งที่ทำมาเตรียมใส่ข้าว
และช่วยกันนำต้นข้าวที่ใช้ไม่ได้ไปให้วัวหรือควายกิน เด็กๆ ต่างสนุกสนานในการทำกิจกรรมและร่วมซึมซับกับบรรยากาศการทำนาตลอดทั้งภาคเรียน
|
|
|
ผู้ปกครองชวนเด็กๆ ทำข้าวเม่า
โดยที่คุณแม่พี่อังๆ กับเพื่อนๆ ผู้ปกครองเตรียมอุปกรณ์เพื่อนพาเด็กๆ ทำจนครบ
ทำใต้ถุน ม.1 อย่างสนุกสนาน หลายคนไม่รู้กระบวนการทำข้าวเม่า โดยเริ่มทำจากการหมักข้าวเหนียวและนำมานึ่ง
ก่อนนำมาตำหรือทุบๆ ใส่ผ้าตาข่ายเขียวใช้ไม้ทุบๆ
และเด็กๆ ได้รับประทานข้าวเม่าจากกะลา
ที่เตรียมมาให้แต่คนอย่างเอร็ดอร่อย ขอบคุณความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
“Last
week we made a scarecrow for our rice
(but I don't think it's working like it
was supposed to do).In our rice there where many parts gone due the birds we only
half of the think we did a too good job. We are going to make a Thai snack
called
|
|
|
|
Kao
Mao it is made of rice .We are very we are going to tell more after words. ”
เด็กๆ
ร่วมกันเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าวลงในกระดาษA4
PBL-ครัวธรรมชาติ :by ครูดอกไม้
ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.1
จะได้ทำการประกอบหารจากผักและผลไม้ต่างๆ พี่ๆ จึงได้ทำการออกแบบ เมนูอาหารด้วยตนเองจากผักและผลไม้
โดยคุณครูให้โจทย์ว่า “ออกแบบเมนูด้วยตนเองโดยไม่ก็อปปี้จากที่ใดๆที่เคยทำมาแล้ว” พี่ๆ ออกแบบเมนูได้อย่างน่าสนใจเช่น
ต้มยำผลไม้,บาบีคิวเห็ด ฯลฯ
![]() | ![]() |
พี่ๆ หลายคนเกิดข้อสงสัยจะกินได้ไหมครับ/ค่ะ ครู หลังจากการออกแบบเมนูของตนเองแล้วพี่ๆ
แต่ละกลุ่มก็ทำการหาว่าอาหารของกลุ่มตนเองให้สารอาหารอะไรบ้างให้พลังงานกี่กิโลแคลลอรี่
ขณะทำงานบางกลุ่มเกิดข้อสงสัยไม่แน่ใจว่าผลไม้ชนิดนี้ให้พลังงานเท่าไหร่ให้สารอาหารอะไร
แต่ละกลุ่มจึงแบ่งหน้าที่ในการทำงาน บางคนวาดภาพระบายสี
บางคนค้นข้อมูลเพิ่มเติม
พี่ๆมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และตื่นเต้นที่จะได้ทำอาหาร
พี่ๆม.1ได้ประกอบอาหารจากผักและผลไม้ในเมนูที่ออกแบบวางแผนไว้ แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาอย่างพร้อมเพียงจากครั้งแรกที่ครูกับพี่ๆวางแผนไว้ว่าจะประกอบอาหารที่ครัวเล็ก
ปรากฏว่าพี่ๆเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม(มีทั้งไมโครเวป เตาปิ้งอย่าง ฯลฯ)
จึงทำการประกอบอาหารบริเวณใต้ถุนบ้านพี่ม.1 แต่ละกลุ่มดำเนินการประกอบอาหารจากแผนที่วางไว้
กลุ่มพี่ออสติน เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างครบในการประกอบอาหารแต่ปรากฏว่าผิดจากแผนที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินการทำอาหารได้
พี่ๆแก้ไขด้วยการเปิดหนังสือและเปิดยูทูปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมแต่เมื่อทดลองทำแล้วยังไม่สามารถทำตามขั้นตอนได้
พี่ๆ จึงแก้ปัญหาด้วยการขอความช่วยเหลือจากคุณแม่พี่ออสตินซึ่งมีความถนัดในการทำอาหาร
แต่ละกลุ่มทำอาหารด้วยความตั้งใจได้เรียนรู้วิธีการทำและลงมือทำด้วยต้นเอง
กลุ่มพี่ปังปอนด์นำผักและผลไม้มาน้อยไม่พอสำหรับทอดจึงแก้ปัญหาด้วยการเก็บผักภายในบริเวณโรงเรียนแทน พี่ๆแสดงความสามารถในการทำอาหารอย่างเต็มที่
กล้าที่จะประกอบอาหารจากวัตถุดิบใหม่ๆอย่างน่าชื่นชม และพี่ม.1 ยังแบ่งปันให้พีๆ ม.2,ม.3 ได้ร่วมลิ้มรสความอร่อยอีกด้วย
PBL-ครัวธรรมชาติ :by ครูดอกไม้
ตอบลบในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.1 จะได้ทำการประกอบหารจากผักและผลไม้ต่างๆ พี่ๆ จึงได้ทำการออกแบบ เมนูอาหารด้วยตนเองจากผักและผลไม้ โดยคุณครูให้โจทย์ว่า “ออกแบบเมนูด้วยตนเองโดยไม่ก็อปปี้จากที่ใดๆที่เคยทำมาแล้ว” พี่ๆ ออกแบบเมนูได้อย่างน่าสนใจเช่น ต้มยำผลไม้,บาบีคิวเห็ด ฯลฯ
พี่ๆ หลายคนเกิดข้อสงสัยจะกินได้ไหมครับ/ค่ะ ครู หลังจากการออกแบบเมนูของตนเองแล้วพี่ๆ แต่ละกลุ่มก็ทำการหาว่าอาหารของกลุ่มตนเองให้สารอาหารอะไรบ้างให้พลังงานกี่กิโลแคลลอรี่ ขณะทำงานบางกลุ่มเกิดข้อสงสัยไม่แน่ใจว่าผลไม้ชนิดนี้ให้พลังงานเท่าไหร่ให้สารอาหารอะไร แต่ละกลุ่มจึงแบ่งหน้าที่ในการทำงาน บางคนวาดภาพระบายสี บางคนค้นข้อมูลเพิ่มเติม พี่ๆมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และตื่นเต้นที่จะได้ทำอาหาร
พี่ๆม.1ได้ประกอบอาหารจากผักและผลไม้ในเมนูที่ออกแบบวางแผนไว้ แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาอย่างพร้อมเพียงจากครั้งแรกที่ครูกับพี่ๆวางแผนไว้ว่าจะประกอบอาหารที่ครัวเล็ก ปรากฏว่าพี่ๆเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม(มีทั้งไมโครเวป เตาปิ้งอย่าง ฯลฯ) จึงทำการประกอบอาหารบริเวณใต้ถุนบ้านพี่ม.1 แต่ละกลุ่มดำเนินการประกอบอาหารจากแผนที่วางไว้ กลุ่มพี่ออสติน เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างครบในการประกอบอาหารแต่ปรากฏว่าผิดจากแผนที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินการทำอาหารได้ พี่ๆแก้ไขด้วยการเปิดหนังสือและเปิดยูทูปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมแต่เมื่อทดลองทำแล้วยังไม่สามารถทำตามขั้นตอนได้ พี่ๆ จึงแก้ปัญหาด้วยการขอความช่วยเหลือจากคุณแม่พี่ออสตินซึ่งมีความถนัดในการทำอาหาร แต่ละกลุ่มทำอาหารด้วยความตั้งใจได้เรียนรู้วิธีการทำและลงมือทำด้วยต้นเอง กลุ่มพี่ปังปอนด์นำผักและผลไม้มาน้อยไม่พอสำหรับทอดจึงแก้ปัญหาด้วยการเก็บผักภายในบริเวณโรงเรียนแทน พี่ๆแสดงความสามารถในการทำอาหารอย่างเต็มที่ กล้าที่จะประกอบอาหารจากวัตถุดิบใหม่ๆอย่างน่าชื่นชม และพี่ม.1 ยังแบ่งปันให้พีๆ ม.2,ม.3 ได้ร่วมลิ้มรสความอร่อยอีกด้วย
PBLคู่ขนาน : by ครูป้อม
ตอบลบ_เริ่มต้นในสัปดาห์นี้ เด็กๆยังเห็นนกมากินข้าวทุกๆ เช้า-เที่ยง-เย็น แถมยังมีลูกวัวอัก 2 ตัวที่เข้ามากัดกินข้าวตลอดทั้งวัน เด็กๆและครูจึงร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเปลี่ยนจากรอเก็บเกี่ยวข้าว มาเป็นมาทำข้าวเม่าร่วมกันรับประทาน โดยมีผู้ปกครองที่ทำเป็นมาเป็นผู้ปกครองอาสาเข้ามาร่วมทำกิจกรรมให้กับเด็กๆ ในสัปดาห์นี้
..เช้าวันอังคารทุกคนร่วมกันเกี่ยวข้าวในแปลงนาหน้าบ้าน ม.1 โดยมีผู้ปกครอง แม่พี่อังๆ แม่พี่ปุณ แม่พี่ติ แม่พี่มิลล์ แม่พี่ติ และแม่พี่ซินดี้ อาสามาช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าวร่วมกับครูและเด็กๆ โดยเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ลงเกี่ยวข้าวในแปลงนาด้วยก็ต่างถือกระด้งที่ทำมาเตรียมใส่ข้าว และช่วยกันนำต้นข้าวที่ใช้ไม่ได้ไปให้วัวหรือควายกิน เด็กๆ ต่างสนุกสนานในการทำกิจกรรมและร่วมซึมซับกับบรรยากาศการทำนาตลอดทั้งภาคเรียน
ผู้ปกครองชวนเด็กๆ ทำข้าวเม่า โดยที่คุณแม่พี่อังๆ กับเพื่อนๆ ผู้ปกครองเตรียมอุปกรณ์เพื่อนพาเด็กๆ ทำจนครบ ทำใต้ถุน ม.1 อย่างสนุกสนาน หลายคนไม่รู้กระบวนการทำข้าวเม่า โดยเริ่มทำจากการหมักข้าวเหนียวและนำมานึ่ง ก่อนนำมาตำหรือทุบๆ ใส่ผ้าตาข่ายเขียวใช้ไม้ทุบๆ
และเด็กๆ ได้รับประทานข้าวเม่าจากกะลา ที่เตรียมมาให้แต่คนอย่างเอร็ดอร่อย ขอบคุณความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
“Last week we made a scarecrow for our rice
(but I don't think it's working like it was supposed to do).In our rice there where many parts gone due the birds we only half of the think we did a too good job. We are going to make a Thai snack called
Kao Mao it is made of rice .We are very we are going to tell more after words. ”
เด็กๆ ร่วมกันเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าวลงในกระดาษA4