เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (understanding Goal):

Week18

เป้าหมายรายสัปดาห์ เข้าใจการเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome




18

21-25
 ก.ย. 58
โจทย์:
- การเลือกซื้อ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

Key  Question:
นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรให้ได้คุณภาพและไม่โดนเอารัดเอาเปรียบ?

เครื่องมือคิด:
Show and Share: แสดงละครสิทธิผู้บริโภค
Brainstorm:ระดมความคิดออกแบบวางแผนการแสดงละคร
Round Robin:แลกเปลี่ยนสะท้อนหลังการแสดงละคร

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพสัญลักษณ์ เครื่องหมายรับรองคุณภาพ
- คอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์การแสดงละคร
วันจันทร์
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร
เชื่อม:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรให้ได้คุณภาพและไม่โดนเอารัดเอาเปรียบ?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค
วันอังคาร
ชง:
- นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการสืบค้นข้อมูล

- ครูให้นักเรียนดูภาพเครื่องหมาย รับรองคุณภาพ
เชื่อม:นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับ เครื่องหมายรับรองคุณภาพ
ใช้:
 - นักเรียนแบ่งกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาสร้างชิ้นงาน(Story Board)
วันพุธ
ชง:นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน
เชื่อม:นักเรียนฝึกซ้อมการแสดงตามStory Board
ชง:ครูและนักเรียนทบทวนข้อตกลงร่วมกันก่อนการแสดงละคร
ใช้:นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงละคร
วันศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร? /นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้อสิ้นค้าอย่างปลอดภัย
- การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องหมายรับรอง
- การทำ Story Board ละครสิทธิผู้บริโภค
- การฝึกซ้อมการแสดงละคร

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องหมายรับรองคุณภาพ
- Story Board ละครสิทธิ
- ละครสิทธิผู้บริโภค
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจการเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสมเช่น สี กระดาษ กรรไกร
-  เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถสื่อสารกับสมาชิกภายในกลุ่มในวางแผนและออกแบบการแสดง
- สามารถถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภคผ่านการแสดงละครได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
 ทักษะ ICT
- สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์กิจกรรมการเลือกซื้ออาหารอย่างปลอดภัย และอภิปรายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

PBLคู่ขนาน : by ครูป้อม
_หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านๆมา เด็กร่วมกับคุณครู ผู้ปกครอง
ได้เกี่ยวข้าว คัดแยกข้าวเพื่อนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวสอนเหล็ก 100% เตรียมปลูกในปีถัดไป และยังนำข้าวมาทำเป็นอาหาร –ข้าวเม่า-
คัดแยกข้าว
ตำๆ- ข้าวเม่า
ในวันที่มาช่วยทำกิจกรรมต่างๆ กลุ่มผู้ปกครองช่วยคุณครูประสานงาน เพื่อให้เข้ามาแบ่งเบาภาระครูได้เยอะ และการเรียนรู้ของเด็กๆ เกิดขึ้นมากมาย และสิ้นสุดกิจกรรม
เด็กๆ ได้ถอดบทเรียนจากทุกๆ กิจกรรมที่ผู้ปกครองเข้ามาร่วมสร้างการเรียนรู้
_ในส่วนของข้าว 4 เมล็ดของเด็กๆ ตอนนี้ฝนตกเกือบทุกวันในสัปดาห์นี้ นักเรียนแวะเวียนไปดูการเจริญเติบโตของข้าวทุกวันอย่างต่อเนื่อง

และต้นกล้วยในแปลงปลูกในพื้นที่ 1 ตร.ม. เด็กๆ ได้ขนปุ๋ยอินทรีย์มาเติมใส่และพรวนดิน / ถอนหญ้า
ปัญหา : เด็กๆ ควบคุมลูกวัวน้อย 2 ตัว ไม่ได้เกินเวลากำหนด เพราะออกหากินแต่เช้าตรู่หรือบางวันตอนกลางคืน เพราะลูกวัวยังตัวเล็กๆ ยังไม่ได้สนตะพาย การควบคุมอยู่เหนือเวลาที่เด็กๆ อยู่โรงเรียนฯ วัวก็เลยออกหากินกินพืช/ผัก /ข้าวโพด /ข้าว 4 เมล็ด ตอนนี้เด็กๆ ดูแลร่วมกันเท่าที่ทำได้
เสนอคิดค้นแก้ปัญหา : อยากให้มีการล้อมรั่วเพื่อป้องกันลูกวัวน้อย แต่การล้อมรั่วก็อาจส่งผลให้ทิวทัศน์บริเวณนั้นขาดอะไรไปบ้างอย่าง และยังทำให้การเข้าถึงพืชพันธุ์บริเวณนั้นทำได้ยาก และตอนนี้วัวกินไปจนเกลี้ยงแล้ว การล้อมรั่วอาจไม่คุ้มทุน (แรงงาน/เวลา) แต่ทุกการนำเสนอจะเชื่อมโยงไปสู่การทำงานในครั้งต่อๆ

            ..ทุกคนเขียนบันทึกผลและพูดเล่าความเข้าใจ ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ร่วมกันอีกครั้ง

PBL-ครัวธรรมชาติ byครูดอกไม้
สัปดาห์นี้ครูดอกไม้เริ่มต้นทักทายพูดคุยกับพี่ๆม.1 ว่าเราจะเปลี่ยนเรื่องที่เรียนกันอยู่เราเรียนวิทยาศาสตร์มานานแล้วจะเปลี่ยนแนวเป็นเรียนกฎหมายกันบ้าง
พี่ปังปอนด์:ครูครับยังไม่หมดQuarter เลยครับ เรียนเป็นเรื่องๆ ไปนะครับ”
พี่เพลง:กฎหมายเลยหรอครับครูต้องท่องมาตรา อีกแน่ๆอเลยครับ”

    จากนั้นคุณครูกับพี่ๆจึงพุดคุยกันว่ากฎหมายที่จะเรียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร จากที่พี่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารแล้วคุณครูจึงได้ให้พี่ๆดูภาพที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพต่างๆ
พี่ปุน:ตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็มีนะครับบางรูป”
พี่มายด์: “ตามกล่องนมก็มีคะ”
พี่ค็อป: “ของที่เราซื้อตามตลาดไม่มีแบบนี้นะครับ”
      ครูกับพี่ๆ จึงร่วมกันพูดคุยว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเราเองไม่โดนเอาเปรียบเวลาซื่อของต่างๆ แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจเช่นเดียวกับเราด้วย
พี่ๆ จึงตกลงร่วมกันว่าจะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของละคร พี่ๆ จึงได้แบ่งกลุ่มวางแผนเนื้อเรื่องจากข้อมูลที่สืบค้นมา ขณะแบ่งกลุ่มทำงานพี่หลายๆ คนตั้งใจวางแผนและทำชิ้นงานช่วยกันอย่างตั้งใจแต่เนื่องด้วยสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนมาก(4-5คน) ทำให้มีพี่บางคนไม่ได้ลงมือทำงานช่วยเพื่อนคุณครูจึงขอรวมพี่ ม.1 ทั้งหมด เพื่อพูดคุยถึงเป้าหมายในการทำงานเป็นกลุ่มว่าเพื่ออะไร
 พี่ที่ไม่ได้ช่วยเพื่อนให้เหตุผลว่าทำงานไม่สวยครับ/คะ เลยไม่กล้าทำช่วยเพื่อน
คุณครูจึงเสริมแรงว่าทุกคนย่อมมีศักยภาพด้านๆต่างๆ ไม่เท่ากัน เพื่อนหลายคนให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าถ้าไม่วาดรูปก็ช่วยเตรียมอุปกรณ์หรือซ้อมบทก็ได้ครับ/คะ แล้วพี่ๆ จึงฝึกซ้อมการแสดง จนถึงเวลาแสดงจึงพี่ๆ สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่ายอดเยี่ยมค่ะ


สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

2 ความคิดเห็น:

  1. PBL-ครัวธรรมชาติ byครูดอกไม้
    สัปดาห์นี้ครูดอกไม้เริ่มต้นทักทายพูดคุยกับพี่ๆม.1 ว่าเราจะเปลี่ยนเรื่องที่เรียนกันอยู่เราเรียนวิทยาศาสตร์มานานแล้วจะเปลี่ยนแนวเป็นเรียนกฎหมายกันบ้าง
    พี่ปังปอนด์: “ครูครับยังไม่หมดQuarter เลยครับ เรียนเป็นเรื่องๆ ไปนะครับ”
    พี่เพลง: “กฎหมายเลยหรอครับครูต้องท่องมาตรา อีกแน่ๆอเลยครับ”
    จากนั้นคุณครูกับพี่ๆจึงพุดคุยกันว่ากฎหมายที่จะเรียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร จากที่พี่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารแล้วคุณครูจึงได้ให้พี่ๆดูภาพที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพต่างๆ
    พี่ปุน: “ตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็มีนะครับบางรูป”
    พี่มายด์: “ตามกล่องนมก็มีคะ”
    พี่ค็อป: “ของที่เราซื้อตามตลาดไม่มีแบบนี้นะครับ”
    ครูกับพี่ๆ จึงร่วมกันพูดคุยว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเราเองไม่โดนเอาเปรียบเวลาซื่อของต่างๆ แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจเช่นเดียวกับเราด้วย
    พี่ๆ จึงตกลงร่วมกันว่าจะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของละคร พี่ๆ จึงได้แบ่งกลุ่มวางแผนเนื้อเรื่องจากข้อมูลที่สืบค้นมา ขณะแบ่งกลุ่มทำงานพี่หลายๆ คนตั้งใจวางแผนและทำชิ้นงานช่วยกันอย่างตั้งใจแต่เนื่องด้วยสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนมาก(4-5คน) ทำให้มีพี่บางคนไม่ได้ลงมือทำงานช่วยเพื่อนคุณครูจึงขอรวมพี่ ม.1 ทั้งหมด เพื่อพูดคุยถึงเป้าหมายในการทำงานเป็นกลุ่มว่าเพื่ออะไร
    พี่ที่ไม่ได้ช่วยเพื่อนให้เหตุผลว่าทำงานไม่สวยครับ/คะ เลยไม่กล้าทำช่วยเพื่อน
    คุณครูจึงเสริมแรงว่าทุกคนย่อมมีศักยภาพด้านๆต่างๆ ไม่เท่ากัน เพื่อนหลายคนให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าถ้าไม่วาดรูปก็ช่วยเตรียมอุปกรณ์หรือซ้อมบทก็ได้ครับ/คะ แล้วพี่ๆ จึงฝึกซ้อมการแสดง จนถึงเวลาแสดงจึงพี่ๆ สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่ายอดเยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ
  2. PBLคู่ขนาน : by ครูป้อม
    _หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านๆมา เด็กร่วมกับคุณครู ผู้ปกครอง
    ได้เกี่ยวข้าว คัดแยกข้าวเพื่อนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวสอนเหล็ก 100% เตรียมปลูกในปีถัดไป และยังนำข้าวมาทำเป็นอาหาร –ข้าวเม่า-

    คัดแยกข้าว


    ตำๆ- ข้าวเม่า

    ในวันที่มาช่วยทำกิจกรรมต่างๆ กลุ่มผู้ปกครองช่วยคุณครูประสานงาน เพื่อให้เข้ามาแบ่งเบาภาระครูได้เยอะ และการเรียนรู้ของเด็กๆ เกิดขึ้นมากมาย และสิ้นสุดกิจกรรม
    เด็กๆ ได้ถอดบทเรียนจากทุกๆ กิจกรรมที่ผู้ปกครองเข้ามาร่วมสร้างการเรียนรู้
    _ในส่วนของข้าว 4 เมล็ดของเด็กๆ ตอนนี้ฝนตกเกือบทุกวันในสัปดาห์นี้ นักเรียนแวะเวียนไปดูการเจริญเติบโตของข้าวทุกวันอย่างต่อเนื่อง





    และต้นกล้วยในแปลงปลูกในพื้นที่ 1 ตร.ม. เด็กๆ ได้ขนปุ๋ยอินทรีย์มาเติมใส่และพรวนดิน / ถอนหญ้า
    ปัญหา : เด็กๆ ควบคุมลูกวัวน้อย 2 ตัว ไม่ได้เกินเวลากำหนด เพราะออกหากินแต่เช้าตรู่หรือบางวันตอนกลางคืน เพราะลูกวัวยังตัวเล็กๆ ยังไม่ได้สนตะพาย การควบคุมอยู่เหนือเวลาที่เด็กๆ อยู่โรงเรียนฯ วัวก็เลยออกหากินกินพืช/ผัก /ข้าวโพด /ข้าว 4 เมล็ด ตอนนี้เด็กๆ ดูแลร่วมกันเท่าที่ทำได้
    เสนอคิดค้นแก้ปัญหา : อยากให้มีการล้อมรั่วเพื่อป้องกันลูกวัวน้อย แต่การล้อมรั่วก็อาจส่งผลให้ทิวทัศน์บริเวณนั้นขาดอะไรไปบ้างอย่าง และยังทำให้การเข้าถึงพืชพันธุ์บริเวณนั้นทำได้ยาก และตอนนี้วัวกินไปจนเกลี้ยงแล้ว การล้อมรั่วอาจไม่คุ้มทุน (แรงงาน/เวลา) แต่ทุกการนำเสนอจะเชื่อมโยงไปสู่การทำงานในครั้งต่อๆ

    ..ทุกคนเขียนบันทึกผลและพูดเล่าความเข้าใจ ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ร่วมกันอีกครั้ง

    ตอบลบ